วันอังคารที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2556



สื่อไอที
เทคโนโลยี หมายถึง สื่อการเรียนรู้ที่ได้ผลิตขึ้นเพื่อใช้ควบคู่กับเครื่องมือโสตทัศนวัสดุหรือเครื่องมือที่เป็นเทคโนโลยีใหม่ ๆ สื่อการเรียนรู้ดังกล่าว เช่น แถบบันทึกภาพพร้อม-เสียง (วีดิทัศน์) แถบบันทึกเสียง (ม้วนเทป) สไลด์ สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) นอกจากนี้ สื่อเทคโนโลยี ยังหมายรวมถึงกระบวนการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน เช่น การใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการเรียนการสอน การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ประเภทของสื่อเทคโนโลยี สื่อเทคโนโลยี ที่มีใช้ในโรงเรียนทั่วไปในปัจจุบัน แบ่งออกได้เป็น 6 ประเภท ดังนี้ 1. แถบบันทึกเสียง (ม้วนเทป) และแผ่น CD 2. สไลด์, แผ่นใส 3. แถบบันทึกภาพพร้อมเสียง (วีดิทัศน์),VCD และ DVD 4. สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI), CD-ROM และ Power Point 5. อินเทอร์เน็ต และอินทราเน็ต 6. การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ซึ่งสื่อเทคโนโลยีเหล่านี้จะใช้ควบคู่กับเครื่องมือโสตทัศนวัสดุ หรือเครื่องมือที่เป็นเทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น เครื่องเล่นเทป,เครื่องเล่น CD, เครื่องเล่นวีดิโอเทป, เครื่องเล่น VCD, เครื่องเล่น DVD, โทรทัศน์, เครื่องคอมพิวเตอร์,เครื่องฉายสไลด์, เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ ชุดเครื่องรับสัญญาณผ่านดาวเทียม เป็นต้น การใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน 1. หลักการเลือกสื่อการเรียนรู้ ในการจัดการเรียนการสอนทุกครั้ง ครูผู้สอนจะต้องมี การวางแผนการจัดการเรียนรู้ล่วงหน้า และเลือกสื่อการเรียนรู้ที่เหมาะสม ซึ่งมีหลักการเลือกสื่อการเรียนรู้ที่ครูผู้สอนควรคำนึงถึง คือ 1.1 การเลือกสื่อการเรียนรู้ต้องสัมพันธ์กับผลการเรียนรู้ที่คาดหวังและสาระที่จะสอน 1.2 การเลือกสื่อการเรียนรู้ต้องเหมาะสมกับผู้เรียน 1.3 พิจารณาความเป็นไปได้และค่าใช้จ่าย 1.4 พิจารณาความสะดวกและความสามารถในการใช้สื่อการเรียนรู้ 2. หลักการใช้สื่อการเรียนรู้ การจัดกระบวนการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้นั้น สิ่งสำคัญนอกเหนือจากการเลือกสื่อการเรียนรู้ที่เหมาะสมก็คือ การใช้สื่อที่มีประสิทธิภาพซึ่งมีหลักการ ดังนี้ 2.1 การเตรียมตัวของครูผู้สอน ครูผู้สอนจำเป็นต้องเตรียมการในด้านต่าง ๆ ก่อนที่ จะนำสื่อการเรียนรู้ไปใช้ กล่าวคือ 2.1.1 ศึกษาเนื้อหาสาระในสื่อการเรียนรู้ที่เลือกไว้ เพื่อตรวจสอบว่ามีความ สมบูรณ์ตามที่ต้องการหรือไม่ 2.1.2 ทดลองใช้สื่อการเรียนรู้บางประเภท ซึ่งอาจมีความยุ่งยากในการใช้ หรือต้องทดสอบประสิทธิภาพของสื่อชนิดนั้น ๆ เช่น ลำดับขั้นตอนการนำเสนอ สร้างความเข้าใจให้กับ ผู้เรียนได้เพียงพอหรือไม่ 2.1.3 จัดเตรียมอุปกรณ์ เครื่องมือ เพื่อจะได้ไม่เสียเวลาในขณะที่ใช้ เพราะการใช้เวลานานเกินไปในการจัดเตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์ จะมีผลให้ผู้เรียนมีแรงจูงใจในการเรียนรู้ น้อยลง นอกจากนี้ควรตรวจสอบอุปกรณ์และเครื่องมือต่าง ๆ ให้ครบถ้วนและให้อยู่ในสภาพที่พร้อมที่จะใช้งานด้วย 2.1.4 การเตรียมจัดสภาพแวดล้อม การใช้สื่อการเรียนรู้บางประเภท จะต้องการจัดเตรียมสถานที่หรือห้องเรียน ให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสมกับการใช้สื่อการเรียนรู้ประเภทนั้น ๆ ไม่ว่าจะเป็นตำแหน่งที่เหมาะสมของเครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ ระยะที่นั่งที่เหมาะสมของผู้เรียน หรือแสง ภายในห้อง 2.2 การเตรียมความพร้อมผู้เรียน การใช้สื่อการเรียนรู้บางอย่างจำเป็นต้องชี้แจงให้ ผู้เรียนรู้วัตถุประสงค์การเรียนรู้โดยใช้สื่อนั้น ๆ เป็นการให้ผู้เรียนเรียนรู้อย่างมีเป้าหมาย และผู้เรียนจะได้เตรียมความพร้อมในการเรียนรู้จากสื่อนั้น หากไม่มีการชี้แจงให้รู้ ผู้เรียนอาจได้เพียงความเพลิดเพลินหรือเรียนรู้ไม่ตรงตามเป้าหมาย ย่อมเป็นการใช้สื่อที่ไม่คุ้นค่าและเสียเวลาโดยเปล่า-ประโยชน์ หรือในกรณีที่ผู้เรียนจะต้องใช้สื่อด้วยตนเอง ครูผู้สอนจะต้องแนะนำวิธีการใช้สื่อนั้นด้วย ที่สำคัญจะต้องบอกว่า ผู้เรียนต้องทำกิจกรรมอะไรบ้าง เพื่อจะได้เตรียมตัวได้ถูกต้อง 2.3 การใช้สื่อการเรียนรู้ ครูผู้สอนต้องใช้สื่อการเรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรู้ที่ กำหนดไว้ เพื่อให้การจัดการเรียนการสอนดำเนินไปอย่างราบรื่นและให้เกิดการเรียนรู้ที่ต้องการ ในขณะที่ใช้สื่อใด ๆ ก็ต้องคอยสังเกตว่าผู้เรียนมีปฏิกิริยาอย่างไร ผู้เรียนสนใจ ตั้งใจ และกระตือรือร้นหรือไม่ เพราะปฏิกิริยาของผู้เรียนสามารถใช้เป็นเครื่องชี้วัดได้ว่า สื่อการเรียนรู้นั้นมีความเหมาะสมกับกิจกรรมและผู้เรียนเพียงใด นอกจากนั้นควรได้มีการใช้เครื่องมือหรือวิธีการต่าง ๆ เพื่อตรวจสอบว่าสื่อการเรียนรู้ที่ใช้นั้นมีประสิทธิภาพหรือไม่ เพียงใด ซึ่งอาจใช้วิธีการสังเกต การใช้แบบทดสอบ หรือสอบถามนักเรียนโดยตรง 2.4 การประเมินการใช้สื่อการเรียนรู้ เป็นการนำข้อมูลที่ได้จากการใช้สื่อ มา วิเคราะห์ให้เกิดความชัดเจนว่า มีอุปสรรค์ปัญหาจากการใช้อย่างไร มีความเหมาะสมกับกิจกรรมและกลุ่มผู้เรียนในระดับใด โดยจะต้องพิจารณาลักษณะทางกายภาพของสื่อและสาระที่สื่อสารไปยังผู้เรียน บางครั้งสื่อการเรียนรู้ที่นำมาใช้นั้นอาจมีความเหมาะสมด้านกายภาพ แต่คุณค่าด้านสาระยังไม่สามารถทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ตามเป้าหมาย การประเมินจะช่วยในการตัดสินใจเลือกและใช้สื่อการเรียนรู้สำหรับการจัดการเรียนการสอนในครั้งต่อ ๆ ไป หรือพัฒนาโดยการดัดแปลง ปรับปรุง แก้ไข จัดทำเพิ่มเติมให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น 3. การประเมินคุณภาพสื่อเทคโนโลยี มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยกลั่นกรองคุณภาพของสื่อก่อนนำไปใช้ เพราะสื่อต่าง ๆ ที่มีจำหน่ายหรือที่โรงเรียนมีอยู่ แม้ผ่านการรับรองคุณภาพมาบ้างแล้ว แต่ก็ยังอยู่ในดุลยพินิจของครูผู้สอนที่จะเลือกนำไปใช้ ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่จะต้องประเมินคุณภาพสื่อดังกล่าว เพื่อให้สามารถนำไปใช้ประกอบการเรียนการสอนได้อย่างมีคุณภาพต่อไป      CD   เขียนโดย ประสาท วงศ์กาฬสินธุ์ ที่ 12:42